fbpx
Skip to content Skip to sidebar Skip to footer

ผู้ก่อตั้ง Ripple เดือด! เตือนสหรัฐฯกำลังจะพ่ายแพ้สงครามเทคโนโลยีให้แก่จีน

Marketing Services – Abstract Concept – Dark Version

ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท Ripple เจ้าของเหรียญ XRP นาย Chris Larsen กล่าวในระหว่างงาน LA Blockchain Summit เมื่อวันที่ 6 ตุลาคมที่ผ่านมาว่า สหรัฐฯกำลังพ่ายแพ้ในสงครามเทคโนโลยีจากกฎระเบียบและข้อบังคับที่เคร่งครัดและไม่เอื้ออำนวยให้ภาคเอกชนแข่งขันกับประเทศอื่น ๆ

นาย Larsen ขู่ว่า “เรา (Ripple) กำลังพิจารณาย้ายออกจากสหรัฐฯไปในประเทศที่มีกฎระเบียบที่เป็นมิตรต่ออุตสาหกรรมคริปโตมากกว่านี้” และยังชี้อีกว่า “เอเชียและยุโรปกำลังกลายมาเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรม FinTech ของโลก ไม่ว่าจะเป็นลอนดอน สวิสเซอร์แลนด์ ญี่ปุ่น หรือสิงคโปร์ต่างเปิดรับเทคโนโลยีใหม่ ๆ และส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาทางด้านเทนโนโลยีมากกว่าสหรัฐฯ”

ผู้ร่วมก่อตั้ง Ripple ยังให้ความเห็นเกี่ยวกับประเทศจีนที่นำหน้าสหรัฐฯไปแล้วในแง่การให้ความกระจ่างชัดในด้านกฎหมาย สนับสนุนเงินทุนในการพัฒนาเทคโนโลยี สร้างสาธารณูปโภคพื้นฐานที่เอื้อต่อการต่อยอด และฟูมฟักดูแลเทคโยโลยีใหม่ ๆ อย่างเช่นบล็อกเชน, Big Data และ AI

“จีนรู้ว่าใครก็ตามที่เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีเหล่านี้จะกลายมาเป็นผู้นำในระบบการเงินของโลกใหม่ ระบบที่ล้าหลังอย่างการธนาคารหรือ SWIFT จะเป็นของตกยุคที่ไม่มีใครใช้อีกแล้วในอีกยี่สิบปีข้างหน้า”

นอกจากนี้ สหรัฐฯยังไม่มีทีท่าจะมุ่งพัฒนาเงิน CBDC ในรูปแบบดิจิทัลดอลลาร์ ทั้ง ๆ ที่จีนก้าวหน้าในเรื่องนี้ไปไกลมาก และมันจะช่วยในการขยายอิธิพลทางเศรษฐกิจของจีนออกไปทั่วโลกและลดทอนความสำคัญของเงินดอลลาร์ลงไป

เขายังเสริมอีกว่า ฝ่ายนิติบัญญัติของจีนมีความก้าวหน้าและยืดหยุ่นกว่าทาง กลต.ของสหรัฐฯมาก (US SEC) ทั้ง ๆ ที่สหรัฐฯควรตั้งบล็อกเชนมาเป็นหลักสำคัญซึ่งเป็นพื้นฐานของระบบการเงินยุคใหม่ได้แล้ว และทิ้งท้ายว่าสหรัฐฯต้องให้ความสำคัญกับอุตสาหกรรมการขุดคริปโตเคอเรนซี่มากกว่านี้ และไม่ปล่อยให้จีนกลายเป็นผู้ผูกขาดการขุดคริปโตเคอเรนซี่อย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้

ข่าวอื่นที่เกี่ยวข้อง: สงครามเย็นดิจิทัล! เมื่อสหรัฐอเมริกาและจีนกำลังแย่งความเป็นมหาอำนาจด้านบล็อกเชน

Leave a comment

เกี่ยวกับ SuperCryptoNews

สื่อชั้นนำด้านบล็อกเชนและคริปโตในภูมิภาคเอเชีย นำเสนอข่าวสารด้านเทคโนโลยีและการลงทุนในสกุลเงินดิจิทัลอย่างรอบด้านและเจาะลึก ครอบคลุมทั้งภูมิภาคเอเชียเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะสิงคโปร์และประเทศไทย

สมัครรับข่าวสารจาก SCN