fbpx
Skip to content Skip to footer

ธนาคารกลางสหรัฐฯ ยืนยันจะไม่ออกสกุล เงินดิจิตอล ของธนาคารกลาง (CBDC) ในอนาคตอันใกล้นี้

ในช่วงที่ผ่านมา มีรายงานว่า ธนาคารกลางของหลายประเทศทั่วโลก กำลังมุ่งพัฒนาและทดสอบสกุลเงินดิจิตอลของธนาคารกลางหรือ Central bank digital currency (CBDC) ทั้ง จีน สิงคโปร์ แคนาดา รวมถึงไทย เพื่อมุ่งลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพของการดำเนินนโยบายการเงิน รับมือกับเงินดิจิตอลสกุลต่างๆ ที่จะเข้ามาแข่งขันกับเงินสกุลหลัก และสร้างความมั่นใจในการแข่งขันของตลาดการชำระเงิน และนำเสนอเครื่องมือการชำระเงินที่ปลอดภัยต่อประชาชน 

รายงานจากสำนักข่าว Bloomberg เปิดเผยว่า ในระหว่างการประชุมกับทางคณะกรรมการสภาบริการทางการเงินของสหรัฐอเมริกา (House Financial Services Committee) Steven Mnuchin รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของสหรัฐอเมริกา และ Jerome Powell ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (Federal Reserve) เห็นตรงกันว่าไม่ได้คาดหวังที่จะทำการพัฒนาสกุลเงินดิจิตอลของสหรัฐฯ เองภายในเร็ววันนี้

Mnuchin กล่าวว่า เขา และ Powell มีความเห็นตรงกันว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Federal Reserve) ไม่จำเป็นจะต้องต้องออกสกุลเงินดิจิตอลของตนเอง ในอนาคตอันใกล้นี้หรือในอีก 5 ปีข้างหน้า นอกจากนี้ เขายังได้กล่าวถึงโครงการ Libra ของ Facebook อีกด้วยว่า เขาจะไม่คัดค้าน Libra ตราบใดที่ยังสอดคล้องกับกฎหมายและการต่อต้านการฟอกเงินของธนาคาร และไม่สามารถนำมาใช้ในการจัดหาเงินของผู้ก่อการร้ายได้

ช่วงกลางเดือนพฤศจิกายน ที่ผ่านมา ทางด้านธนาคารกลางสหรัฐฯ ได้ส่งจดหมายไปยัง French Hill และ Bill Fosters ผู้แทนสหรัฐฯ โดยเปิดเผยว่า ขณะนี้ธนาคารกลางสหรัฐฯ ยังไม่ได้มีการพัฒนาสกุลเงินดิจิตอลของธนาคารกลาง (CBDC) แต่ก็ได้มีการประเมินถึงต้นทุนและผลตอบแทน รวมถึงประโยชน์อยู่อย่างต่อเนื่อง 

Jerome Powell  ได้กล่าวในจดหมายว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯ จะต้องตอบคำถามทางกฎหมายจำนวนหนึ่งให้ได้เสียก่อน ซึ่งรวมถึงนโยบายการเงินและความมั่นคงทางการเงิน การกำกับดูแลและปัญหาในการดำเนินงานต่างๆ ก่อนที่จะมีการออกสกุลเงินดิจิตอลของธนาคารกลาง (CBDC) ของสหรัฐฯ 

ข่าวอื่นที่เกี่ยวข้อง : เยอรมนี ศึกษากฎหมายให้ลูกค้าเก็บเงินดิจิตอลไว้ในธนาคารได้

Leave a comment

เกี่ยวกับ SuperCryptoNews

สื่อชั้นนำด้านบล็อกเชนและคริปโตในภูมิภาคเอเชีย นำเสนอข่าวสารด้านเทคโนโลยีและการลงทุนในสกุลเงินดิจิทัลอย่างรอบด้านและเจาะลึก ครอบคลุมทั้งภูมิภาคเอเชียเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะสิงคโปร์และประเทศไทย

สมัครรับข่าวสารจาก SCN