fbpx
Skip to content Skip to footer

บล็อกเชน จะทำให้การจัดการภาครัฐมีความโปร่งใส

ปริญญ์ บล็อกเชน
ปริญญ์ บล็อกเชน

นายปริญญ์ พานิชภักดิ์ รองหัวหน้าพรรคและหัวหน้าทีมเศรษฐกิจพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวในงาน Blockchain Thailand Genesis 2019 ว่าการนำบล็อกเชนเข้ามาช่วยในการบริหารจัดการข้อมูลของภาครัฐ จะทำให้เกิดความสะดวกและโปร่งใสมากขึ้น ปัจจุบันข้อมูลต่างๆนั้นเป็นสิ่งที่มีค่ามหาศาล ยกตัวอย่างสิงคโปร์ ที่รัฐให้นำข้อมูลการจราจรกับเอกชน เพื่อนำไปพัฒนาเป็นโมเดลใหม่ๆ และนำมาแก้ไขปัญหารถติดได้

GovTech หรือ เทคโนโลยีบริหารจัดการภาครัฐ เป็นสิ่งที่เชื่อได้ว่าจะต้องเกิดขึ้น เช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ ซึ่งไม่ใช่เฉพาะเทคโนโลยีบล็อกเชนเท่านั้น แต่หมายรวมถึงทุกๆเทคโนโลยี ในทุกยุคทุกสมัย อุปสรรคสำคัญที่ทำให้ไม่สามารถใช้เทคโนโลยีได้อย่างเต็มที่ในเมืองไทย ก็คือการตัดสินใจของผู้มีอำนาจ จึงอยากฝากให้ผู้มีอำนาจ ปลดล็อกกำแพงต่างๆ ซึ่งประกอบด้วย ก. กฎหมาย

“ เรามีกฎหมายมากมายที่ไม่เอื้อต่อการใช้เทคโนโลยี และมีความล้าหลัง ในบางอุตสาหกรรมที่มีการเปลี่ยนแปลงสูง ควรตั้งหน่วยงานกำกับดูแลแทนการใช้กฎหมายบังคับ”

ข. แข่งขัน พบว่ามีสตาร์ทอัพจำนวนมากที่ขาดศักยภาพในการแข่งขัน เพราะไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ ขณะที่ธนาคารที่มีสภาพคล่องจนล้น ก็ไม่กล้าปล่อยสินเชื่อ แต่ก็เป็นเป็นที่น่ายินดีที่ระบบบล็อกเชน ได้ก่อให้เกิดมีการปล่อยกู้แบบ Peer-to-peer หรือการทำธุรกรรมที่ไม่ผ่านตัวกลางเกิดขึ้น 

รวมถึงการพิจารณาให้เครดิต โดยไม่ยึดเฉพาะธุรกรรมทางการเงินหรือ Alternative Credit Scoring โดยพิจารณาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตในโลกออนไลน์แทน

ค. ความคิด การปลดล็อกความคิดเป็นสิ่งสำคัญ ต้องมองให้เห็นประโยชน์ของเทคโนโลยี ที่มาช่วยในเรื่องความโปร่ง (Transparency) และการตรวจสอบย้อนกลับได้ (Traceability) ซึ่งหลายหน่วยงานภาครัฐก็เริ่มมีความเคลื่อนไหวแล้ว เช่น กระทรวงพาณิชย์และกระทรวงเกษตรฯ ที่วางแผนบริหารจัดการข้อมูล Big Data ของสินค้าเกษตรร่วมกัน

ข่าวอื่นที่เกี่ยวข้อง : EY เปิดตัวบล็อกเชนติดตามการใช้งบประมาณภาครัฐ

Leave a comment

เกี่ยวกับ SuperCryptoNews

สื่อชั้นนำด้านบล็อกเชนและคริปโตในภูมิภาคเอเชีย นำเสนอข่าวสารด้านเทคโนโลยีและการลงทุนในสกุลเงินดิจิทัลอย่างรอบด้านและเจาะลึก ครอบคลุมทั้งภูมิภาคเอเชียเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะสิงคโปร์และประเทศไทย

สมัครรับข่าวสารจาก SCN