fbpx
Skip to content Skip to sidebar Skip to footer

สว.มะกันชี้บิทคอยน์ยืนหนึ่งสกุลเงินคริปโตเคอร์เรนซี

Cynthia Lummis วุฒิสมาชิกสหรัฐฯ หนึ่งในผู้สนับสนุนบิทคอยน์รายใหญ่ในแวดวงการเมือง ออกโรงแนะว่า บิทคอยน์ยังคงเป็นดาวรุ่งอันดับต้นๆ ในบรรดาคริปโตเคอร์เรนซีทั้งหมด รวมถึงแจกแจงเหตุผลว่าทำไมกระแสของบิทคอยน์จะยังคงอยู่ในฐานะดาวรุ่งไปอีกนาน ก่อนกล่าวถึงความคิดเห็นส่วนตัวเกี่ยวกับข้อเสนอการออกกฎหมายกำกับดูแลสกุลเงินดิจิทัลของรัฐบาลสหรัฐฯ

ทั้งนี้ วุฒิสมาชิกจากรัฐไวโอมิงของสหรัฐฯรายนี้ให้นิยมบิทคอยน์ว่าเป็นสกุลเงินดิจิทัล “มาตรฐาน” ที่ธรรมชาติของสกุลเงินดิจิทัลอื่น ๆ ไม่สามารถเปรียบเทียบได้ โดยชี้ให้เห็นว่าบิทคอยน์เป็นสินค้าโภคภัณฑ์ ในขณะที่สกุลเงินดิจิทัลอื่นๆ เป็นหลักทรัพย์เนื่องจากวิธีการจดทะเบียนเข้าสู่ตลาดที่แตกต่างกัน

“ฉันคิดว่าบิทคอยน์จะยังอยู่ไม่ไปไหน แต่สกุลอื่นๆ ส่วนใหญ่จะไม่เป็นแบบนั้น เพราะความจริงที่ว่าบิทคอยน์มีการกระจายอำนาจอย่างสมบูรณ์และบางส่วนยังออกโดยบุคคลหรือนิติบุคคลที่เก็บบล็อกขนาดใหญ่ของเหรียญสำหรับตัวเองแล้วออกให้ผู้อื่นเข้าร่วมหมายความว่าพวกเขามีความความปลอดภัยมั่นคงมากกว่าสินค้าโภคภัณฑ์”

Cynthia Lummis วุฒิสมาชิกสหรัฐฯจากรัฐไวโอมิงกล่าว

Lummis นับเป็นผู้สนับสนุนอย่างเปิดเผยในการให้สหรัฐฯมีกฎหมายที่เข้มงวดมากขึ้นสำหรับระบบนิเวศของคริปโตที่มีอยู่และที่จะสร้างสรรค์ขึ้นใหม่ ควบคู่ไปกับการประกันการคุ้มครองเหล่านักลงทุน โดยเจ้าตัวมีส่วนเกี่ยวข้องกับการร่างกฎหมายที่ครอบคลุมประเด็นสำคัญทั้งหมด

ทั้งนี้ ในแง่ของกฎระเบียบของ Stablecoin ในอุตสาหกรรมนั้น Lummis กล่าวว่านวัตกรรมสามารถยับยั้งได้ หากมีเพียงธนาคารที่ประกันโดย FDIC เท่านั้นที่ได้รับอนุญาตให้เข้าร่วม ทั้งยังเชื่อว่าธนาคารชุมชนและสถาบันที่สามารถรองรับ Stablecoin ได้อย่างเต็มที่ควรได้รับอนุญาตให้เข้าสู่พื้นที่อุตสาหกรรมคริปโต

ขณะเดียวกัน วุฒิสมาชิกรายนี้ยังตั้งข้อสังเกตว่าคำแนะนำในปัจจุบันอาจใช้ความยืดหยุ่นบางอย่างได้ เนื่องจากตอนนี้ราคาของบิทคอยน์และสกุลเงินดิจิทัลค่อนข้างมีอิทธิพล ซึ่งขณะนี้ ตนเองกำลังทำงานในกรอบที่จะเป็นประโยชน์ต่อผู้เข้าร่วมตลาดทั้งหมดอยู่

 

Leave a comment

เกี่ยวกับ SuperCryptoNews

สื่อชั้นนำด้านบล็อกเชนและคริปโตในภูมิภาคเอเชีย นำเสนอข่าวสารด้านเทคโนโลยีและการลงทุนในสกุลเงินดิจิทัลอย่างรอบด้านและเจาะลึก ครอบคลุมทั้งภูมิภาคเอเชียเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะสิงคโปร์และประเทศไทย

สมัครรับข่าวสารจาก SCN