fbpx
Skip to content Skip to footer

กลุ่มประเทศ G20 ชี้! Stablecoin เป็นภัยต่อเสถียรภาพทางการเงิน

Stablecoin

การประชุมคณะกรรมการความมั่นคงทางการเงิน (FBS) ของกลุ่มสมาชิก G20 ได้มีการเปิดเผยรายงานการศึกษาถึง Stablecoin ในเชิงลึก รวมถึงเสนอแนะการกำกับดูแลอย่างมีประสิทธิภาพออกมาจำนวน 10 ข้อ

รายงานระบุว่า หน่วยงานกำกับดูถูกกระตุ้นให้หันมามอง Stablecoin จากการเปิดตัวสกุลเงิน Libra ของ Facebook ซึ่งเป็น Stablecoin ที่มีพื้นฐานบนตระกร้าเงินที่มีสกุลเงินหลักของโลกรวมอยู่ในนั้นจำนวน 5 สกุล แม้ว่าในภายหลังดูเหมือน Libra จะยอมถอยจากเสียงวิพากษ์วิจารย์และการโจมตีอย่างหนักจากหน่วยงานของรัฐฯ แต่รัฐบาลทั่วโลกก็ยังคงจับตาเฝ้าระวังโปรเจกต์นี้อยู่

คณะกรรมการความมั่นคงทางการเงิน (FBS) ระบุว่า สมควรต้องใช้กฎหมายทางการเงินที่มีอยู่ในปัจจุบันมาบังคับใช้กับ Stablecoin ด้วยเช่นกัน เหมือนที่หน่วยงานกำกับดูแลของสหรัฐฯกระทำอยู่ 

ทาง FBS ยังย้ำว่า ควรใช้มาตรฐานเดียวกับในการป้องกันไม่ให้เกิดธุรกิจที่อาจก่อความเสี่ยงต่อเสถียรภาพทางการเงิน ไม่ว่าธุรกิจนั้นจะเป็นเทคโนโลยีชนิดใดหรือรูปแบบไหนก็ตาม

ปัจจุบันการใช้งาน Stablecoin ทั่วโลกยังคงมีช่องว่างทางกฎระเบียบที่แตกต่างกันในแต่ละประเทศ FBS จึงยังได้ให้คำแนะนำว่า ควรกำกับดูแลไม่ให้เกิดการใช้งาน Stablecoin ในธุรกรรมข้ามพรหมแดน และให้ใช้ได้ภายในประเทศนั้น ๆ เท่านั้น

สมาชิก G20 ยังได้เสนอแนะให้ใช้แนวทางต่อต้านการฟอกเงิน (AML) รวมถึงการป้องกันการสนับสนุนทางการเงินสำหรับผู้ก่อการร้าย (CTF) ที่เข้มงวดมากวดขันการใช้ Stablecoin ด้วย

ทำไม Stablecoin ถึงเป็นปัญหาสำหรับรัฐฯ

สิ่งที่ทำให้สกุลเงิน Libra กลายเป็นภัยต่อรัฐบาลต่าง ๆ ทั่วโลกคือศักยภาพของมันที่มีอยู่มหาศาลและฐานลูกค้าจำนวนมากของ Facebook ที่พร้อมจะเปิดรับและนำมาใช้งานจริงได้ทันที ทางคณะกรรมการฯยังตระหนักถึงเหรียญ Stablecoin อย่าง Dai ว่าเป็นสกุลเงินดิจิทัลที่ต้องจับตามอง แม้ ณ ขณะนี้มันจะยังเล็กอยู่ และไม่เป็นภัยต่อระบบมากนัก

รายงานยังชี้ให้เห็นถึงประเด็นที่เป็นก่อให้เกิดความกังวลมากที่สุดของ Stablecoin ก็คือโครงสร้างพื้นฐานที่ยังไม่เข้มแข็งพอของพวกมัน ซึ่งถ้าหากเกิดการใช้งานกันอย่างแพร่หลายจนโครงสร้างพื้นฐานไม่สามารถรองรับปริมาณการใช้งานที่ขยายตัวได้ทันท่วงที มันอาจสร้างผลเสียหายทางเศรษฐกิจได้อย่างใหญ่หลวง

แต่ประเด็นที่เหล่าชาติผู้นำให้ความกังวลที่สุดคือประเด็นด้านการควบคุมการไหลเวียนของกระแสเงินทุนที่ไหนเข้าไปใน Stablecoin โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่ตึงเครียดหรือเกิดวิกฤต ผู้ใช้งานในบางประเทศอาจเลือกใช้งาน Stablecoin เพื่อเก็บเงินของพวกเขาแทนที่จะใช้ใช้สกุลเงินปกติ  ซึ่งอาจทำให้กระเงินทุนเกิดการชะงักงัน และจะส่งผลกระทบไปถึงความเสถียรภาพของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศและสภาพคล่องของธนาคาร

คณะกรรมการฯยังเห็นถึงจุดแข็งของ Stablecoin ที่ทำให้เกิดการใช้งานกันอย่างแพร่หลาย นั่นคือความมีอิสระในการทำธุรกรรม และดูเหมือนว่าพวกเขาจะไม่ชอบใจเท่าไหร่นักและระบุว่ามันเป็นภัยต่อความมั่นคง 

สุดท้ายนี้ดูเหมือนเหล่าประเทศผู้นำและรัฐบาลจะมองว่า อะไรก็ตามที่มีผลต่อการควบคุมอำนาจอย่างเบ็ดเสร็จของพวกเขาในด้านการเงิน ล้วนแต่เป็นภัยทั้งสิ้น แม้มันอาจจะมีประโยชน์ต่อประชาชนหมู่มากก็ตาม

ข่าวอื่นที่เกี่ยวข้อง : ดูเหมือนเครื่องพิมพ์เงินของ Fed จะมีคู่แข่ง! ปริมาณ Stablecoins พุ่งกระฉูดในช่วงเดือนที่ผ่านมา

Leave a comment

เกี่ยวกับ SuperCryptoNews

สื่อชั้นนำด้านบล็อกเชนและคริปโตในภูมิภาคเอเชีย นำเสนอข่าวสารด้านเทคโนโลยีและการลงทุนในสกุลเงินดิจิทัลอย่างรอบด้านและเจาะลึก ครอบคลุมทั้งภูมิภาคเอเชียเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะสิงคโปร์และประเทศไทย

สมัครรับข่าวสารจาก SCN