fbpx
Skip to content Skip to footer

คณะกรรมการ PCFIR เรียกร้องเกาหลีใต้เปิดทางสถาบันการเงินทำธุรกรรมสินทรัพย์ดิจิทัลอย่างเสรี

เกาหลีใต้ PCFIR

คณะกรรมการ South Korean Presidential Committee on the Fourth Industrial Revolution (PCFIR) ได้เสนอความเห็นต่อรัฐบาล ร้องขอให้สถาบันการเงินสามารถดำเนินกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเงินดิจิตอล รวมทั้งสินทรัพย์ดิจิทัลประเภทอื่นๆ โดยอยู่ในการควบคุมลักษณะเดียวกันกับผลิตภัณฑ์ทางการเงิน

PCFIR ยังได้เสนอให้สถาบันที่เกี่ยวข้องกับภาคการเงินในประเทศ ศึกษาและทำความเข้าใจกับระบบบล็อกเชนโดยมีเป้าหมายที่จะใช้หน่วยงานภายในประเทศดูแลจัดการด้วยตนเอง เพื่อป้องกันและหลีกเลี่ยงการใช้งานหน่วยงานต่างประเทศ เนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมที่ยังมีช่องว่างทางกฎหมาย และมีช่องทางในการล่อลวงให้ลงทุน

คณะกรรมการ PCFIR ยังได้แนะนำให้มีการออกใบอนุญาตหรือแนวทางในการปฎิบัติสำหรับการดำเนินกิจการที่เกี่ยวข้องกับเงินดิจิตอล และรวมถึงผลิตภัณฑ์ที่มีสินทรัพย์ดิจิตอลเป็นส่วนหนึ่งในนั้นโดยคณะกรรมการได้ให้ความเห็นเพิ่มเติมดังนี้

เมื่อเดือนพฤษภาคม 2019 ที่ผ่านมามีการเทรดสินทรัพย์ดิจิทัลมากกว่า 80 ล้านล้านวอนมันจึงเป็นไปไม่ได้ที่จะห้ามการทำธุรกรรมสินทรัพย์ดิจิตอล  รัฐบาลเกาหลีควรจะที่อนุญาตให้นักลงทุนสถาบันสามารถจัดการ  กับสินทรัพย์ดิจิตอลได้อย่างอิสระรวมทั้งประชาสัมพันธ์เพื่อกระตุ้นให้คนเกิดความสนใจ

นอกจากนี้ PCFIR ยังได้เสนอให้เหรียญบิทคอยน์ ควรจะขึ้นตรงกับ Korea Exchange ซึ่งเป็นบริษัทหลักทรัพย์สัญชาติเกาหลีใต้ที่ตั้งอยู่ในเมือง Busan

ในขณะที่คณะกรรมการ PCFIR พยายามเรียกร้องให้รัฐบาลวางโครงสร้างพื้นฐานที่ครอบคลุมปัจจัยต่างๆในสินทรัพย์ดิจิตอลแต่ก็ยังคงมีช่องว่างทางกฎหมายบางส่วนที่ยังคงเป็นประเด็น เช่นในปัจจุบันยังไม่สามารถกำหนดอัตราภาษีเงินได้จากกำไรในการทำธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ดิจิทัล ซึ่งล่าสุดหน่วยงานด้านภาษีของเกาหลีใต้ได้เรียกเก็บภาษีจากเว็บเทรด Bithumb เป็นจำนวนเงินมากกว่า 68.9 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งอยู่ในขั้นตอนต่อสู้และพิจารณาเพื่อหลีกเลี่ยงการจ่ายภาษี

ข่าวอื่นที่เกี่ยวข้อง : เกาหลีใต้ ร่างกฎหมายใหม่เก็บภาษีจากกำไรเงินดิจิตอล

Leave a comment

เกี่ยวกับ SuperCryptoNews

สื่อชั้นนำด้านบล็อกเชนและคริปโตในภูมิภาคเอเชีย นำเสนอข่าวสารด้านเทคโนโลยีและการลงทุนในสกุลเงินดิจิทัลอย่างรอบด้านและเจาะลึก ครอบคลุมทั้งภูมิภาคเอเชียเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะสิงคโปร์และประเทศไทย

สมัครรับข่าวสารจาก SCN