fbpx
Skip to content Skip to footer

แบงก์ใหญ่จีน China Construction Bank ยกเลิกแผนออกพันธบัตร 3 พันล้านดอลลาร์บน Blockchain แล้ว


China Construction Bank (CCB) ธนาคารยักษ์ใหญ่สัญชาติจีน ประกาศยกเลิกแผนการออกพันธบัตรมูลค่า 3,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งรองรับการซื้อขายด้วยสกุลเงินดิจิทัลอย่าง Bitcoinแล้ว

รายงานระบุว่า CCB สาขา Labuan ในประเทศมาเลเซียได้ตัดสินใจล้มเลิกแผนการระดมทุนด้วยการออกพันธบัตรบล็อกเชนแล้ว และให้มีผลในทันที โดยทางธนาคารจะดำเนินการประเมินโครงการแผนการระดมทุนอีกครั้ง

ความเคลื่อนไหวในครั้งนี้มีขึ้นเพียงไม่กีสัปดาห์หลังจากที่ทาง CCB เพิ่งจะประกาศสนับสนุนการออกพันธบัตรระดมทุนผ่าน ตลาด Fusang ตลาดหลักทรัพย์ดิจิทัลของมาเลเซีย รวมถึงจัดเตรียมการระดมทุนพันธบัตรบล็อกเชนมูลค่ากว่า 3,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งจะออกให้ผ่านทาง Longbond Ltd.

โดยในช่วงแรก การซื้อขายพันธบัตรโทเคนดังกล่าวสามารถซื้อได้ในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ และสกุลเงินดิจิทัล Bitcoin และเริ่มซื้อขายในตลาด Fusang วันแรกเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน ทว่า การซื้อขายกลับโดนเลือนออกไปอย่างกระทันหันในวันเดียวกัน

ด้าน Fusang เปิดเผยว่า ได้เริ่มทยอยคืนเงินทุนให้กับนักลงทุนทั้งหมดแล้ว แต่ไม่ได้เปิดเผยรายละเอียดถึงสาเหตุที่ผู้สนับสนุนและผู้ออกพันธบัตรล้มเลิกแผนการอย่างกระทันหัน

ทั้งนี้ เมื่อไม่นานมานี้ ทางการจีนเพิ่งจะบังคับใช้ระเบียบที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ดิจิทัลใหม่ ซึ่งกลายเป็นอุปสรรคขัดขวางความคืบหน้าของการดำเนินการในหลายโครงการ เช่น การออกหุ้นไอพีโอของ Ant Group บริษัทด้านฟินเทคของAlibaba ที่ไม่สามารถดำเนินการออกไอพีโอได้ตามกำหนดการและต้องยกเลิกแผนการในนาทีสุดท้าย

สำหรับในกรณีของ CCB ครั้งนี้ แม้จะยังไม่มีการยืนยันออกมาอย่างชัดเจน แต่ก็เป็นที่คาดการณ์ว่า ระเบียบใหม่ของทางการจีนน่าจะเป็นเหตุผลที่ทำให้ CCB ตัดสินใจระงับความเกี่ยวข้องกับโครงการออกพันธบัตรดังกล่าว

ธนาคาร CCB ถือเป็น 1 ใน 4 ธนาคารที่ใหญ่ที่สุดของจีน และเพิ่งจะขึ้นแท่นกลายเป็นธนาคารที่มีขนาดสินทรัพย์ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก

ที่มา https://www.supercryptonews.com/china-construction-bank-pulls-bitcoin-tradable-bond-expected-listing/

Leave a comment

เกี่ยวกับ SuperCryptoNews

สื่อชั้นนำด้านบล็อกเชนและคริปโตในภูมิภาคเอเชีย นำเสนอข่าวสารด้านเทคโนโลยีและการลงทุนในสกุลเงินดิจิทัลอย่างรอบด้านและเจาะลึก ครอบคลุมทั้งภูมิภาคเอเชียเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะสิงคโปร์และประเทศไทย

สมัครรับข่าวสารจาก SCN